วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 31 ม.ค .- 4 ก.พ.



























ตอบ 2










วิเคราะห์ข้อมูล

ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้

Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน


















ตอบ 2.

วิเคราะห์ข้อมูล

สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ
1. ตัวทำละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทำให้สารต่างๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น
2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทำละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวทำละลายโดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน
สารละลายมีทั้ง 3 สถานะ คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส
สารละลายของแข็ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของแข็ง เช่น ทองเหลือง นาก โลหะบัดกรี สัมฤทธิ์ เป็นต้น
สารละลายของเหลว หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำเกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำอัดลม เป็นต้น
สารละลายแก๊ส หมายถึงสารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นแก๊ส เช่น อากาศ แก๊สหุงต้ม ลูกเหม็นในอากาศ ไอน้ำในอากาศ เป็นต้น
ตัวละลายแต่ละชนิดจะใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวทำละลายและตัวถูกละลาย ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนั้นจะต้องรวมเป็นเนื้อเดียวกันและไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน ตัวอย่างเช่น

- เกลือ น้ำตาลทราย สีผสมอาหาร จุนสี สารส้ม กรดเกลือ กรดกำมะถัน ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย

- โฟม ยางพารา พลาสติก ใช้น้ำมันเบนซินเป็นตัวทำละลาย
- สีน้ำมัน โฟม พลาสติก แลคเกอร์ ใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย
- สีน้ำมันใช้น้ำมันสนเป็นตัวทำละลาย

การละลายของสารในตัวทำละลาย

เราสามารถทราบได้ว่าสารละลายแต่ละชนิดนั้นมีสารใดเป็นตัวทำละลายและมีสารใดเป็นตัวละลาย โดยมีวิธีการสังเกตตัวทำละลายและตัวละลายดังนี้
1. ใช้สถานะของสารละลายเป็นเกณฑ์ ถ้าสารละลายนั้นเกิดจากสารที่มีสถานะต่างกันละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สารใดที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลาย สารนั้นจะเป็นตัวทำละลาย เช่น
- น้ำเกลือ ประกอบด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายและเกลือเป็นตัวละลาย
- น้ำเชื่อม ประกอบด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายและน้ำตาลทรายเป็นตัวละลาย
- น้ำด่างทับทิม ประกอบน้ำเป็นตัวทำละลายและด่างทับทิมเป็นตัวละลาย
- น้ำอัดลม ประกอบด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวละลาย

ที่มา http://www.macedukation.com/









ตอบ 4.

วิเคราะห์ข้อมูล
ฝนกรด (acid rain) หมายถึงน้ำฝนที่มีค่าความเป็นกรด-เบส (pH value) ต่ำกว่าระดับ ๕.๖ กรดในน้ำฝนเกิดจากการละลายน้ำของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนทริกออกไซด์ ที่มีอยู่ในบรรยากาศซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจากการกระทำของมนุษย์ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างซีกโลกเหนือและใต้ ประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตร จึงใช้เชื้อเพลิงมากกว่าซีกโลกใต้ประมาณ ๑๖ เท่า จึงทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไซด์ของกำมะถัน และออกไซด์ของไนโตรเจนมากกว่าปกติ เมื่อฝนตกลงมาจึงละลายก๊าซเหล่านั้นทำให้น้ำฝนมีค่าความเป็นกรดสูงขึ้น สำหรับธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายเมื่อตายไป ซากพืชและสัตว์จะเน่าสลายมีก๊าซแอมโมเนียเกิดขึ้น จุลินทรีย์บางกลุ่มจะเปลี่ยนก๊าซแอมโมเนียให้เป็นสารจำพวกไนไทรต์และไนเทรต และจุลินทรีย์กลุ่มอื่นก็อาจจะแปลงสารดังกล่าวย้อนกลับไป เป็นก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศได้ ส่วนพืชจำพวกถั่วมีความสามารถต่างจากพืชอื่นคือ ดึงก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศมาใช้ได้โดยตรง แล้วทำให้เกิดปุ๋ยในดินเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นปรากฏการณ์ฟ้าผ่าจะทำให้ก๊าซไนโตรเจนกลายเป็นสารประกอบไนโตรเจนได้จากการทำงานของเครื่องยนต์ของรถ เรือ และเครื่องบิน ก็ทำให้เกิดก๊าซไนทริกออกไซด์ได้เช่นกันและเมื่อไปทำปฏิกิริยากับโอโซนต่อไป ก็จะทำให้เกิดก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เมื่อเกิดฝนจะละลายน้ำทำให้เกิดกรดไนทรัสและกรดไนทริกที่กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างแสดงความแปรปรวนของสารประกอบไนโตรเจน ดังนั้นจึงคาดเดาปริมาณของสารประกอบไนโตรเจนในบรรยากาศได้ค่อนข้างยาก แต่พอที่จะเห็นได้ว่า ออกไซด์ของไนโตรเจนเกิดจากตามวิถีธรรมชาติมากกว่าที่จะเกิดจากการกระทำของมนุษย์นับสิบเท่า

ที่มา http://www.sanook.com/












ตอบ 1.
วิเคราะห์ข้อมูล
กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ(อังกฤษ:hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง

กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดยนักเล่นแร่แปรธาตุชื่อจาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir ibn Hayyan) ราวปี 800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl

กรดเกลือในน้ำยาล้างห้องน้ำ จะมีคุณสมบัติในการกัดกร่อนคราบสกปรก ทำให้สามารถทำความสะอาดสุขภัณฑ์ได้ง่าย ซึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มักโฆษณาว่า “ แค่เทน้ำทิ้งไว้สักครู่ ไม่ต้องเสียเวลาขัด ก็จะขจัดคราบสกปรกได้แล้ว ” ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักจะมีกรดเกลือเป็นส่วนผสมอยู่เสมอ

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81
http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=93
















ตอบ 2.

วิเคราะห์ข้อมูล

ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี












ตอบ 4.

วิเคราะห์ข้อมูล
เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1
เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ
ที่มา http://www.wikipedie.com/








ตอบ 3.
วิเคราะห์ข้อมูล
สารประกอบ (Compound) เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน สร้างพันธะเคมีต่อกันในอัตราส่วนที่คงที่ เกิดเป็นโมเลกุล เขียนแทนสูตรเคมี เช่น น้ำ (H2O) เกลือแกง (NaCl) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) น้ำส้มสายชู (CH3COOH) เป็นต้น จะพบว่าสารประกอบมีสูตรเดียว ถ้าสูตรเคมีเปลี่ยนไปจะไม่ใช่สารเดิม เช่น ธาตุคาร์บอน (C) ทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน (O2) เกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ซึ่งมีสมบัติแตกต่างกันไปสารประกอบสามารถแยกสลายให้องค์ประกอบย่อย เช่น เมื่อเผาด่างทับทิม (KMnO4) จะได้ก๊าซออกซิเจน ของแข็งสีเขียว (K2MnO2) และของแข็งสีดำ (MnO2) เป็นต้น










ตอบ 4.
วิเคราะห์ข้อมูล

พันธะไอออนิก ( Ionic bond ) หมายถึง พันธะระหว่างอะตอมที่อยู่ในสภาพอิออนที่มีประจุตรงกันข้ามกัน ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน 1ตัว หรือมากกว่า จากอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่ง เพื่อให้จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุด ครบออกเตต ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างอะตอมของโลหะกับอโลหะ โดยที่โลหะเป็นฝ่ายจ่ายอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุดให้กับอโลหะ
เนื่องจากโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ และอโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง ดังนั้นพันธะไอออนิกจึงเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะได้ดี กล่างคือ อะตอมของโลหะให้เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อโลหะ














ตอบ 0.3 g/min
วิเคาระห์ข้อมูล

แมกนีเซียมเป็นโลหะเนื้อแข็ง เบา จุดหลอมเหลวสูง ใช้ประโยชน์ในรูปโลหะและโลหะผสม เนื่องจากศักย์ไฟฟ้าของ Mg2+ ต่ำมาก ไม่สามารถหาตัวรีดิวซ์ที่เหมาะสมมารีดิวซ์ Mg2+ ให้เป็น Mg ได้ การผลิตโลหะ Mg จึงใช้วิธีแยกสารประกอบของแมกนีเซียมโดยใช้กระแสไฟฟ้าโดยใช้วัตถุดิบจากน้ำทะเลโดยมีขั้นตอนดังนี้


ขั้นที่ 1 แยก Mg2+ ที่ละลายอยาในน้ำทะเล โดยเติมสารละลายเบสจะได้ Mg(OH)2

Mg+(aq) + 2OH(aq) ® Mg(OH)(s)

ขั้นที่ 2 กรองแยก Mg(OH)2 แล้วเติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริกให้ได้สารละลาย MgCl2

Mg(OH)2(s) + 2HCl(aq) ® MgCl2(aq) + 2O(l)

ขั้นที่ 3 ระเหยน้ำเพื่อให้ได้ MgCl2 ที่เป็นของแข็ง เมื่อนำไปให้ความร้อนจนหลอมเหลวแล้วผ่านกระแสไฟฟ้าจะเกิดปฏิกิริยาดังสมกา

แคโทด : Mg2+(l) + 2e ® Mg(l)

แอโนด : 2Cl(l) ® Cl2(g) + 2e

ปฏิกิริยารวม : Mg2+(l) + 2Cl(l) ® Mg(l) + C(g)






ตอบ 5 วัน

วิเคราะห์ข้อมูล
ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนเลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี
ธาตุที่เบาที่สุดคือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ซึ่งเป็นสองธาตุแรกสุดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบิ๊กแบง ธาตุอื่นๆนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสังเคราะห์นิวเคลียส




ตอบ 50 วินาที
วิเคราะห์ข้อมูล








โดยปกติร่างกายต้องการไอโอดีนประมาณ 100-150 ไมโครกรัมต่อวัน ในช่วงตั้งครรภ์ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 200 ไมโครกรัม เนื่องจากมีการขับออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น และให้ลูกใช้ในการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมน การกำหนดความรุนแรงของภาวะขาดไอโอดีน จะถือว่าขาดเล็กน้อยเมื่อผู้นั้นไอโอดีนระหว่าง 50-100 ไมโครกรัมต่อวัน ถือว่าขาดปานกลางเมื่อผู้นั้นได้รับไอโอดีนระหว่าง 25-50 ไมโครกรัม และจะถือว่าขาดรุนแรงเมื่อได้รับไอโอดีนน้อยกว่า 25 ไมโครกรัมต่อวัน
ภาวะขาดไอโอดีนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ประมาณว่าประชากรกว่าพันล้านคน โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาประสบปัญหานี้ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะปัญญาอ่อน ในประเทศไทยภาวะขาดไอโอดีนพบในที่ห่างไกลทะเล ในหมู่บ้านยากจนในแถบถิ่นภูเขา บางแห่งเกิดคอพอกจากภาวะขาดไอโอดีนกันเกือบทั้งหมู่บ้าน การแก้ไขปัญหาภาวะขาดไอโอดีนยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม จากการวิเคราะห์ดินที่จังหวัดแพร่ซึ่งเป็นถิ่นของโรคเมื่อเทียบกับดินที่กรุงเทพ พบว่ามีไอโอดีนน้อยกว่าถึง 7 เท่า

ที่มา http://www.panyathai.or.th/


























































































































































































2 ความคิดเห็น:

  1. สวยค่ะ เนื้อหาก็ครบ เอาไปเลย 110 คะแนน ^^

    ตอบลบ
  2. blog สวยงามเนื้อหาครบ 110 เต็ม เลยดีกว่า

    ตอบลบ